🎓 ระบบคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาอุมศึกษา
TCAS หรือ Thai
University Center Admission System เป็นระบบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย
ซึ่งจะเริ่มนำมาใช้ในปีการศึกษา 2561 เป็นระบบที่ออกแบบโดยที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย
(ทปอ.) สามารถติดตามและตรวจสอบรายละเอียดต่างๆ ได้ผ่านทางเว็บไซต์ทางการ http://TCAS61.cupt.net
1.
คัดเลือกโดยการส่งแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio)
ในรอบนี้จะพิจารณาจากผลงานของนักเรียนที่นำมาใส่
Portfolio
ไม่มีการสอบข้อเขียน
ซึ่งแต่ละมหาวิทยาลัยจะคัดเลือกนักเรียนจำนวนหนึ่ง
อาจจะมีกาสัมภาษณ์หรือทดสอบทักษะเฉพาะทาง โดยการคัดเลือกในรอบนี้เป็นแค่การ Pre-
screening เท่านั้น
2.
สมัครโควตาแบบมีสอบข้อเขียน สำหรับนักเรียนในพื้นที่
ในรอบนี้จะเป็นการรับนักเรียนแบบโควตา
สำหรับนักเรียนที่อยู่ในพื้นที่ หรือ รอบเขตการศึกษา ที่ทางมหาวิทยาลัยกำหนด
ในขั้นตอนนี้ทางมหาวิทยาลัยสามารถจัดสอบเองได้เลย หรือจะใช้ข้อสอบส่วนกลาง อย่าง 9วิชาสามัญ
หรือ GAT/PAT เพื่อคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษา
3.
การรับตรงร่วมกัน
ในรอบนี้เป็นการสอบรับตรง
ซึ่งโครงการรับตรงอย่าง กสพท. ก็รวมอยู่ในรอบนี้ด้วย โดยทาง ทปอ.
จะเป็นส่วนกลางในการรับสมัครในรอบนี้ และทางมหาวิทยาลัยจะพิจารณาผลการคัดเลือก
โดยผู้สมัครสามารถเลือกได้ 4 สาขาวิชา
4.
การรับ Admission
ในรอบนี้ยังคงใช้เกณฑ์ในการคัดเลือกแบบ
Admission
โดยใช้องค์ประกอบของคะแนน อย่างเช่น GPAX, O-NET, GAT/PAT หรืออื่นๆ ซึ่งผู้สมัครสามารถเลือกได้ 4 สาขาวิชา
5.
การรับตรงแบบอิสระ
ทางมหาวิทยาลัยสามารถใช้เกณฑ์การสอบที่จัดขึ้นเอง
หรือการสอบวิชาเฉพาะ และส่งผลการคัดเลือกให้ทาง ทปอ.
ปฏิทินการคัดเลือก
ข้อดีของระบบ TCAS

ที่มา: https://www.mangozero.com/wp-content/uploads/2017/06/thai-university-central-admission-system-3.jpg
สำหรับเด็ก ซิ่ว/อินเตอร์/เข้าม.ราชภัฏและม.เทคโนโลยีราชมงคล

ที่มา: https://www.mangozero.com/wp-content/uploads/2017/06/thai-university-central-admission-system-8.jpg
ค่าสมัครในระบบ TCAS
Compressed 9sub from wisita42
แอพพลิเคชันแนะนำสำหรับสมาร์ทโฟน

“OpenDurian
เตรียมสอบเลข” แอพลิเคชันฝึกทำข้อสอบวิชาคณิตศาสตร์บนแอนดรอย
สำหรับน้องๆ ม.ต้น ม.ปลาย และ ปี 1 ปี 2
ที่กำลังมองหาแอพลิเคชันรวมแนวข้อสอบยอดนิยม
ที่เน้นแสดงผลสมการทางคณิตศาสตร์ได้ถูกต้อง สวยงาม อ่านง่าย
และสามารถพกติดตัวไปใช้ฝึกทำข้อสอบได้ทุกๆ ที่แม้ไม่มีอินเตอร์เน็ต

แอพพลิเคชัน
“สอบติด” แอพฯนี้คือการต่อยอดจากธุรกิจเดิมของครบครัวสำนักพิมพ์
ภูมิบัณฑิต สำนักพิมพ์ที่เชี่ยวชาญ
ด้านคู่มือเรียนวิชาเสริมพิเศษเพื่อเด็กประถมและมัธยม มากกว่า 40 ปีของไทย
เล็งเห็นว่าธุรกิจต้องปรับตัวพร้อมให้ทันต่อโลกในปัจจุบัน และอนาคต จึงได้เกิดแนวคิด
การเข้าสู่ Application content จนมาเป็น แอพฯแรก และ
แอพฯเดียวของไทย ที่สามารถให้น้องๆที่เตรียมตัวสอบเข้ามหาวิทยาลัย
หรือกำลังศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษา ได้ทดสอบทำข้อสอบ GAT /PAT, O-net และ9 วิชาสามัญก่อน และได้ทราบผลพร้อมรู้ว่าตัวเองบกพร่องด้านไหน หรือตัวเองมีจุดแข็งด้านไหน
ดาวโหลดสำหรับAndroid ที่ https://play.google.com/store/apps/details?id=edutainment.sobtid.android.admission&hl=th
ดาวโหลดสำหรับ
ios ที่ https://itunes.apple.com/th/app/sobtid-me-%E0%B8%AA%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B8%95-%E0%B8%94-admission/id1191038395?mt=8
คลังข้อสอบ
ข้อสอบ
GAT ENG
ข้อสอบ
GAT THAI
ข้อสอบ PAT 1 คณิตศาสตร์
ข้อสอบ PAT 2 วิทยาศาสตร์
ข้อสอบ
PAT 3 วิศวกรรมศาสตร์
http://www.trueplookpanya.com/examination/doexam/8099 https://sites.google.com/site/kensewenz/examinationandsolution
ข้อสอบ PAT 4 สถาปัตยกรรมศาสตร์
ข้อสอบ PAT 5 วิชาชีพครู
ข้อสอบ PAT 6 ศิลปกรรมศาสตร์
ข้อสอบ PAT 7 ภาษา

ข้อสอบ O-NET
ข้อสอบ 9 วิชาสามัญ
คลังความรู้
สรุปเนื้อหาวิชาภาษาอังกฤษ
สรุปสังคม from wisita42
อยากมีไฟในการอ่านหนังสือต้องทำไง
1.
มองเป้าหมายไว้ให้ชัดเจน
ต้องมองเป้าหมายของ ให้เห็นอย่างชัดเจน เพื่อที่จะได้เดินไปได้ถูกทาง เช่น น้องอยากเป็นหมอมาก ๆ เพราะอยากช่วยเหลือผู้อื่น
น้อง ๆ ก็ต้องมองให้เห็นภาพตัวเองที่เป็นหมอกำลังรักษาผู้อื่นอยู่
ซึ่งภาพนี้จะเป็นตัวนำทางและเป็นแรงผลักดันให้น้อง ๆ ไปเองว่าถ้าอยากเป็นหมอ
ก็ต้องลุกขึ้นมาอ่านหนังสือตั้งแต่วันนี้สิ !
ถ้าไม่อ่านหนังสือแล้วเป้าหมายที่วางไว้มันจะเป็นจริงได้อย่างไรละ
2.
นึกถึงความเสียใจในอดีต
หลาย ๆ คนคงเคยสอบได้คะแนนไม่ดี (เช่น GAT/PAT
รอบที่ผ่านมา) ในเมื่อเรากลับไปแก้ไขอะไรไม่ได้
และเราก็คงไม่อยากจะรู้สึกเสียใจอย่างนั้นอีก
ทำไมไม่ปรับปรุงตัวให้ดีกว่าเดิมละครับ จัดตารางอ่านหนังสืออย่างจริงจัง
ตั้งใจอ่านหนังสือให้มากขึ้น พยายามให้มากกว่าคนอื่น และคิดกับตัวเองเสมอว่า “เราต้องไม่พลาดอย่างนั้นอีก
!” ก็จะช่วยให้น้อง ๆ
ลุกไปอ่านหนังสือได้แล้ว
3.
มองคนรอบตัว
ความฝันของน้องที่อยากเป็นนู้นเป็นนี่
หลายครั้งก็มีคนแชร์ความฝันด้วย ไม่ว่าจะเป็นพ่อ แม่ หรือ ญาติ ๆ คนอื่น
ดังนั้นพวกเขาเหล่านั้นก็คงจะดีใจไม่น้อยกว่าน้อง ๆ
แน่นอนถ้าหากว่าน้องทำความฝันนั้นสำเร็จ แต่ถ้าวันนี้ยังนอน ยังเล่นเกม
ยังออกไปเที่ยวเล่น ความฝันไม่มีทางสำเร็จ
ดังนั้นหยิบหนังสือขึ้นมาอ่านเพื่อทำความฝันของตัวเองและคนรอบข้างที่คอยให้กำลังใจให้เป็นจริงเถอะ
4.
เงยหน้ามองคนที่เหนือกว่าเสมอ
บางคนเมื่อไม่เป็นอย่างที่หวังก็จะคิดซะว่า “ยังมีอีกตั้งหลายคนที่คะแนนแย่กว่าเรา”
ถ้าใครกำลังคิดอย่างนี้ หยุด !
เดี๋ยวนี้เลยครับ เอาตัวเองไปเปรียบเทียบกับคนที่เขาเหนือกว่า
และพยายามแข่งขันกับเขาดีกว่านะ เพราะถ้ามัวแต่มองคนที่เขาอ่อนกว่า แล้วเมื่อไหร่เราจะพัฒนา
5.
ไปนั่งอ่านกับเพื่อนที่ขยันอ่านหนังสือ
วิธีนี้ใช้ได้ผลค่อนข้างดีในน้อง ๆ หลายคน
เพราะเมื่อน้องไปนั่งอ่านหนังสือกับเพื่อนที่เขาขยันอ่านหนังสือก็จะเสมือนการบังคับให้น้องต้องอ่านหนังสือไปด้วย
เพราะกดดันที่เห็นเพื่อนอ่าน หรือจะเพราะไม่มีใครรบกวนสมาธิทำให้อ่านได้นาน
ข้อดีของการมีเพื่อนที่ขยัน ๆ ไปอ่านหนังสือด้วยคือเมื่อน้อง ๆ
มีตรงไหนที่ไม่เข้าใจก็สามารถถามเพื่อนเหล่านั้นได้อีกด้วย
เพราะเขามักจะมีความรู้มากระดับนึงอยู่แล้วละ !
6.
พักสักนิดก่อนกลับมาลุยต่อ
ในกรณีที่น้องหมดไฟจริง ๆ ทำยังไงก็อ่านหนังสือต่อไม่ไหว
ไม่มีสมาธิในการอ่าน คำแนะนำของพี่คือลุกออกจากโต๊ะที่อ่าน
แล้วเดินไปทำกิจกรรมอย่างอื่นสักพัก เช่น ดูทีวี ฟังเพลง เดินเล่นนอกบ้าน
เพื่อให้ร่างกายผ่อนคลาย แล้วค่อยกลับมาตั้งใจอ่านอย่างจริงจัง
แต่มีข้อควรระวังคืออย่าไปพักผ่อนเพลินจนไม่กลับมาอ่านหนังสือละ
ไม่งั้นก็จะไม่ได้อะไรเลย
จัดตารางอ่านหนังสืออย่างไรดี
1.
เริ่มอ่านจริงจังอย่างน้อย 6 เดือนก่อนสอบ
คำถามแรกที่น้องๆมักถามกันคือควรเริ่มอ่านหนังสือเตรียมสอบเมื่อไหร่ดี
ซึ่งคำตอบนั้นไม่ตายตัว แล้วแต่ว่าน้องๆอ่านเร็วหรือช้า ต้องใช้เวลาอ่านเยอะไหม
แต่อย่างไรก็ตามพี่ๆมีคำแนะนำว่าควรเริ่มอ่านอย่างช้าที่สุดคือ 6
เดือนก่อนสอบ เพราะเนื้อหที่จะใช้สอบเข้ามหาวิทยาลัยนั้นไม่ใช่น้อยๆนะครับ
การอ่านให้จบทั้งหมดนั้น เวลา 6
เดือนนี้น่าจะน้อยที่สุดที่จะเป็นไปได้แล้วละ ส่วนใครที่เริ่มอ่านได้เร็วกว่านั้น
ก็ควรเริ่มอ่านเร็วกว่านั้นนะครับ ไม่ใช่รอให้ถึง 6 เดือนละ
2.
อ่านไปทีละวิชา
คำแนะนำของพี่ๆคืออ่านไปทีละวิชาครับ
เพราะการอ่านหนังสือนั้นสมองของเราต้องใช้เวลาในการประมวลผล
และย่อยข้อมูลเพื่อที่จะสรุปเป็นความเข้าใจของตนเองเก็บไว้ในสมองต่อไป
ดังนั้นพี่ๆจึงแนะนำให้อ่านไปทีละวิชา เพราะถ้าหากว่าอ่านเปลี่ยนวิชาไปมา
สมองยังไม่ทันที่จะได้สรุปเนื้อหาวิชาก่อน ก็จะต้องรับข้อมูลวิชาใหม่เข้ามาแล้ว
อย่างนี้ก็คงจะไม่ดีเท่าไหร่ใช่ไหมละ
3.
ควรอ่านเนื้อหาให้จบ 1-2 เดือนก่อนสอบ
การวางแผนอ่านหนังสือเตรียมสอบ
ไม่ควรตั้งเป้าหมายให้จบเนื้อหาทั้งหมดในวันก่อนสอบ แต่ควรวางแผนให้จบประมาณ 1-2
เดือนก่อนสอบ เพื่อที่จะได้นำเวลาที่เหลือไปฝึกทำโจทย์ ให้รู้ข้อบกพร่อง
จะได้แก้ไข และปรับปรุงได้ทัน
อีกทั้งอย่างที่พี่ๆได้บอกไปแล้วว่าสมองของเราต้องการเวลาในการที่จะประมวล
และย่อยข้อมูลเพื่อเก็บในสมองต่อไป ดังนั้นการอ่านเนื้อหาจบก่อนสอบพอดีเลย
ย่อมทำให้สมองไม่สามารถนำเนื้อหาส่วนที่อ่านในช่วงใกล้สอบมากๆมาใช้ในการทำข้อสอบได้อย่างแน่นอน
4.
ต้องทำข้อสอบหรือโจทย์
ข้อนี้ต้องเน้นไว้เลยนะครับ
การทำข้อสอบเป็นสิ่งที่จำเป็น
เพราะจะทำให้น้องๆได้รู้จุดบกพร่องที่ควรนำไปปรับปรุงแก้ไข
และยังสามรถเรียนรู้เนื้อหาได้จากการทำข้อสอบอีกด้วย
น้องๆอาจทำข้อสอบหรือโจทย์ทุกครั้งที่อ่านหนังสือจบ 1 บท
หรือจะทำข้อสอบทีเดียวภายหลังจากการอ่านเนื้อหาจบก็ได้
แต่ควรแยกการอ่านเนื้อหากับการทำข้อสอบออกจากกัน
เพื่อที่จะได้ประเมินการอ่านเนื้อหาของเราจากการทำข้อสอบได้นั่นเอง
5.
อ่านวันละกี่ชั่วโมงดีละ
นี่ก็เป็นอีกคำถามที่น้องๆสงสัยกันใช่ไหมละ
สำหรับตัวเลขนั้นพี่ๆแนะนำอยู่ที่ 3-4 ชม น้องๆอาจรู้สึกเหมือนเยอะ
แต่น้องๆไม่จำเป็นที่จะต้องอ่าน 3-4 ชมในทีเดียวนะครับ
โดยอาจอ่านตื่นมาอ่านตอนเช้าครึ่งชม อ่านตอนพักเที่ยงครึ่งชม อ่านในคาบว่าง 1
ชม และกลับบ้านไปอ่าน 1-2 ชม
ซึ่งโดยรวมแล้วน้องๆก็จะอ่านได้ประมาณ 3-4 ชม
โดยที่ไม่ต้องอ่านรวดเดียว ถ้าหากว่ายังรู้สึกว่าเยอะอยู่ดี
ก็อยากให้น้องๆได้ระลึกไว้เสมอนะครับ
ว่าคู่แข่งของเรานั้นอาจจะอ่านเยอะกว่านี้ก็ได้
เทคนิคการจดเลกเชอร์
1.
ใช้สัญลักษณ์
การใช้สัญลักษณ์แทนคำพูดนั้นจะช่วยให้สามารถจดเลกเชอร์ได้ง่าย
และรวดเร็วขึ้นมากเลยละครับ อีกทั้งหลายๆครั้งทำให้ง่ายต่อการทบทวนอีกด้วย
สัญลักษณ์ต่างๆที่ว่านั้นอาจคิดขึ้นมาเองเพื่อสื่อความหมายของตนเองโดยเฉพาะก็เป็นได้
เช่น ใช้ดอกจัน (***) เพื่อเน้นตรงที่สำคัญ และควรรู้เพราะอาจารย์ย้ำ
ใช้เครื่องหมายบวก (+) เพื่อแทนคำว่า “และ” ใช้ลูกศรชี้ขึ้นหรือลงเพื่อแทนคำว่า
“เพิ่มขึ้นหรือลดลง” เป็นต้น
2.
แบ่งครึ่งกระดาษ
ในกรณีที่ต้องจดลงกระดาษบางชนิดเช่น A4
การแบ่งครึ่งกระดาษตามแนวยาวของกระดาษจะช่วยให้สามารถจดได้ง่ายขึ้น
ไม่เปลืองกระดาษและอ่านง่ายขึ้นเป็นอย่างมาก เช่น
ในวิชาคณิตศาสตร์เมื่อจดวิธีทำนั้นจะพบว่า 1 บรรทัดอาจเขียน 1 สูตรแล้วก็ขึ้นบรรทัดต่อไปในขั้นตอนต่อไป
ทำให้เปลืองกระดาษและเมื่ออ่านก็อาจต้องมองในมุมที่กว้างเพราะในบางครั้งประโยคอยู่ชิดด้านซ้ายกระดาษ
สูตรอยู่กลางกระดาษการอ่านลักษณะนี้ก็อาจจะลำบากไปสักนิด
แต่หากเปลี่ยนรูปแบบการจดมาจดทีละครึ่งหน้าก็จะพบว่าเปลืองกระดาษน้อยกว่าทำให้จำนวนกระดาษที่ต้องพกพากรณีที่เปลี่ยนสถานที่อ่านก็น้อยกว่า
อีกทั้งการอ่านสิ่งที่จดมาก็จะอ่านได้ง่ายกว่าเพราะมุมที่มองก็แคบกว่าและพอดีกับสายตานั่นเอง
3.
ฟังก่อนจด
การจดเลกเชอร์ที่ดีนั้น
ต้องฟังก่อนจดเสมอเพราะเมื่อฟังแล้วก็จะต้องคิดตามและจัดระเบียบเนื้อหาต่างๆที่ผ่านเข้ามาในสมองก่อนที่จะทำการจดลงไป
ซึ่งจะทำให้การจดนั้นป็นขั้นเป็นตอน มีระบบ
และเมื่อกลับมาอ่านก็จะสามารถทำความเข้าใจได้อย่างรวดเร็วเพราะเคยคิด
และจัดระเบียบเนื้อหานั้นในสมองมาก่อนแล้ว ไม่ใช่สักแต่ว่าจดลงไป
4.
แบ่งหัวข้อให้ชัดเจน
การจดที่ดีนั้นควรมีการแบ่งหัวข้อให้ชัดเจนเพื่อที่เมื่ออ่านจะได้รู้ว่าจบ
1 หัวข้อแล้วกำลังขึ้นหัวข้อใหม่ซึ่งจะทำให้ง่ายต่อการอ่านมากเลยละ
5.
เป็นระเบียบและเว้นที่ว่างบ้าง
คงไม่มีใครอยากอ่านเลกเชอร์ที่ไม่เป็นระเบียบใช่ไหมละ
เพราะอ่านยากและทำให้สับสนได้มาก ดังนั้นการจดเลกเชอร์ก็ควรที่จะจดให้เป็นระเบียบและเขียนตัวหนังสือให้อ่านง่าย
เพื่อให้การกลับมาอ่านทบทวนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
อีกทั้งควรมีการเว้นที่ว่างบ้างในหน้าที่จดเพื่อให้ได้มีการพักสายตาจากเนื้อหาที่อ่านบ้างนั่นแหละครับ
6.
ใช้ตัวย่อ
เทคนิคการจดเลกเชอร์ให้เร็วอีกอย่างคือการใช้ตัวย่อแทนคำต่างๆที่จำเป็นต้องเขียนยาวๆ
เช่น “ปสก” แทนคำว่า “ประสบการณ์”
คำว่า “ตย” แทนคำว่า “ตัวอย่าง” ตัวอักษร “ค.”
แทนคำว่า “ความ” เป็นต้น
โดยอักษรย่อเหล่านี้นั้นอาจคิดขึ้นมาเองเพื่อให้ตนเองเข้าใจได้ก็พอแล้วละ
5
เทคนิคการจำ
1.
จำเป็นภาพ
วิธีการจำเป็นภาพนั้น
เป็นวิธีที่คนเก่งๆจำนวนมากเขาใช้ในการจำเนื้อหาภายในเวลาอันสั้นเลยละ
ถ้าหากว่าน้องๆสามารถทำได้การจำเนื้อหาบทเรียนต่างๆก็คงไม่ใช่เรื่องยากต่อไป
สำหรับเทคนิคการจำเป็นภาพนั้นทำได้ง่ายๆโดยการเปิดรูปภาพดูไปด้วยเมื่อต้องอ่านคำบรรยายลักษณะต่างๆเช่น
เมื่ออ่านเรื่องเกี่ยวกับไตแล้วพบคำศัพท์แปลกๆมากมายทั้ง renal pelvis, major
calyx, minor calyx อ่านให้ตายยังไงก็จำไม่ได้ ลองเปิดภาพดูสิครับ
ในภาพจะมีการระบุตำแหน่งของแต่ละชื่อให้ด้วย ก็จะช่วยให้เราจำเนื้อหาได้นานขึ้น
เพราะเห็นภาพโครงสร้างมากขึ้นไง
2.
ใช้ไฮไลต์เข้าช่วย
ถ้าหากว่าอ่านหนังสือไปเรื่อยๆ
จำได้บ้าง หลุดประเด็นบ้าง สุดท้ายอ่านจบอาจจะพบว่า จำอะไรไม่ได้เลย
วิธีการแก้คืออ่านแล้วไฮไลต์ไปด้วยครับ
เพราะการไฮไลต์นั้นเป็นการย้ำกับสมองของเราเองว่าประเด็นนี้สำคัญ ประเด็นนี้ต้องรู้
ทำให้สมองได้คิดในประเด็นที่ไฮไลต์ ก่อนที่จะนำไปเก็บไว้ในส่วนความจำของสมองต่อไป
การไฮไลต์นั้นนอกจากจะทำให้เราจำเนื้อหาได้ดีขึ้นแล้วนั้นยังทำให้เมื่อเราต้องกลับมาอ่านทบทวนเนื้อหา
นั้นสามารถทำได้ง่ายขึ้นอีกด้วย เพราะถ้าเวลาน้อย ก็อ่านเฉพาะประเด็นหลักๆที่เคยไฮไลต์ไว้แล้วได้ไง
3.
จะจำได้ต้องหัดเขียน
เทคนิคนึงที่ช่วยให้น้องๆสามารถจำเนื้อหาได้คือการเขียนครับ เช่น
สูตรที่ต้องจำในวิชาฟิสิกส์มีเยอะมากๆถ้าจะนั่งท่องไปเรื่อยๆทุกสูตร
รับรองว่าท่องเสร็จก็ลืม จำไม่ได้หรอกครับ แต่ลองฝึกเขียนสูตรลงกระดาษสิครับ
เมื่อต้องเขียนนั้นทุกอย่างที่น้องจะเขียนออกมาได้นั้นต้องผ่านสมอง
ดังนั้นสูตรฟิสิกส์ที่จะเขียนออกมาได้นั้นก็ต้องผ่านสมอง แล้วสมองก็จะเก็บสูตรนั้นเข้าไปส่วนความจำได้
4.
ทำสรุปสั้นๆ
เมื่ออ่านเนื้อหาบทใดบทหนึ่งจบแล้ว
ลองทำสรุปเนื้อหาสั้นๆของบทนั้นๆดูครับ จะช่วยให้จำเนื้อหาได้มากเลยละ
เพราะคนที่จะสามารถสรุปเนื้อหาได้นอกจากจะต้องจำได้แล้ว ยังต้องเข้าใจ
และจับประเด็นที่สำคัญได้ออกด้วย
ดังนั้นถ้าหากได้ลองสรุปเนื้อหาก็เปรียบเสมือนการได้ทบทวนเนื้อหาอีกครั้ง
เช็คความเข้าใจ และฝึกจับประเด็น ทำขนาดนี้แล้ว จะจำไม่ได้ได้ยังไง
ข้อนี้ตรงไปตรงมา
เพราะแน่นอนว่าการอ่านบ่อยๆนั้นจะช่วยให้น้องๆสามารถจำเนื้อหาได้ดีขึ้น
และดีกว่าการอ่านเยอะๆช่วยใกล้สอบเพียงอย่างเดียวด้วยนะครับ
อาจจะแบ่งเวลาช่วงเย็นของทุกวัน ในการอ่านทบทวนบทเรียนที่เรียนมาในวันนั้นๆแค่นี้ก็ช่วยให้จำบทเรียนได้มากขึ้นแล้ว
ที่มา: https://www.top-atutor.com/
5
ขั้นตอน เตรียมพร้อมสู่มหาวิทยาลัย BY LYCEUM
คำถามฮิตในการสอบสัมภาษณ์